วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงการ " ห้องน้ำสะอาด สร้างสุข "

โครงการ " ห้องน้ำสะอาด สร้างสุข "
ณ ห้องน้ำข้างหลัง วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.50-14.50 น.
โดยนักเรียนระดับชั้น ปวส.1 สาขาวิชาการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี


กิจกรรม " วันไหว้ครู ปีการศึกษา 2556 "

กิจกรรม " วันไหว้ครู ปีการศึกษา 2556 "
ณ ลานอเนกประสงค์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
วันพุธที่ 20 มิถุนายน 2556 เวลา 07.50-09.50 น.
โดยนักเรียนระดับชั้น ปวส.1 สาขาวิชาการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี


โครงการ " ประดิษฐ์ดอกกุหลาบจากใบเตยหอม "

โครงการ " ประดิษฐ์ดอกกุหลาบจากใบเตยหอม "
ณ ลานไกร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2556 เวลา 13.50-14.50 น.
โดยนักเรียนระดับชั้น ปวส.1 สาขาวิชาการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี


โครงการ " วันแม่แห่งชาติ "

โครงการ " วันแม่แห่งชาติ "
ณ ศาลากลาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556  เวลา 18.00-20.00 น.
โดยนักเรียนระดับชั้น ปวส.1 สาขาวิชาการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี


โครงการ " รู้รัก รู้ป้องกัน รู้ทันโรคเอดส์ "

โครงการ " รู้รัก รู้ป้องกัน รู้ทันโรคเอดส์ "
ณ ห้องคอมพิวเตอร์ 1 อาคาร 4 ชั้น 4 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2556 เวลา 12.50-13.50 น.
โดยนักเรียนระดับชั้น ปวส.1 สาขาวิชาการพัฒนาเว็บเพจ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี



จูมล่า-การปรับเปลี่ยนเนื้อหา

จูมล่า : เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ Joomla

วีดีโอสอนสร้างเมนูของ joomla menu

ตกแต่งจูมล่าเทมเพลต ตอนที่ 1

ทำเว็บไซต์ด้วยจูมล่า 2.5 แบบละเอียด Ac36.

ประโยชน์ของส้ม



1. ส้มเป็นผลไม้นางเอก มีสารไฟโตนิวเทรียนต์มาก ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงสารกลุ่มฟลาวาโนนส์ สารแอนโธไชยานินส์ สารโพลีฟีนอลส์ และวิตามินซี ที่ช่วยทำให้ผิวสวยกระจ่างใส .. ส้ม มีคอลลาเจน ช่วยซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกาย ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น ไม่แห้งแตก และช่วยสมานแผลหลังผ่าตัด แผลไฟไหม้ ให้หายเร็ว และแผลเรียบเนียนขึ้น

2. ส้ม ให้แคลเซียมและวิตามินดี แก่ร่างกาย มากพอๆ กับนม และแคลเซียมจะไปเสริมสร้างกระดูก แต่ถ้าไม่มีวิตามินดี ร่างกายจะไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ นอกจากนี้ส้มยังมีวิตามินซี ซึ่งจะช่วยเพิ่มกระบวนการดังกล่าวอีกด้วย แต่พึงเข้าใจด้วยว่า กรดอะซีติกในส้ม อาจทำลายสารเคลือบฟันได้ จึงไม่ควรแปรงฟันภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากทานส้มหรือดื่มน้ำส้ม

3. ส้ม มีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันการอักเสบ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อน ยิ่งไปกว่านั้นส้มยังช่วยป้องกันและรักษาเลือดออกตามไรฟัน และมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในร่างกาย

4. เปลือกของส้ม มีสารมหัศจรรย์อยู่มากมาย และหนึ่งในนั้นคือการ Polymethoxylated Flavones (PMFs) และสาร D-Limonene ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอล ปรับระดับน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นการกรองสารพิษของตับ นอกจากนี้จากการศึกษายังชี้ว่า เม็ดสีในส้มเขียวหวานจะช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) โดยไม่ส่งผลต่อคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)

5. ตำรับจีนมักเสิร์ฟเปลือกส้ม คู่กับอาหารเนื้อสัตว์ เพื่อย่อยอาหารที่มีไขมันสูง บางตำราแนะนำให้เริ่มวันใหม่ด้วยน้ำเลมอน 12 ออนซ์ ผสมกับน้ำกรองแล้วที่อุณหภูมิห้อง จะช่วยชะล้างของเสียในระบบย่อยอาหารและลำไส้ได้ เพราะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ

6. ส้ม อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยปกป้องแก้วตาจากโรคต้อกระจก และจากการศึกษายังพบว่า การบริโภควิตามินอีและซีในปริมาณมาก จะช่วยป้องกันโรคต้อกระจกได้ แม้แต่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้สูง

7. ส้ม จะทานก็ได้ จะดมผิวก็ได้ เพราะส้มมีสารโฟเลตซึ่งช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนซีโรโทนิน อันเป็นสารแห่งความสุข กลิ่นของผลไม้ตระกูลส้มสามารถทำให้เบิกบานได้

สำหรับพ่อแม่ที่อยากให้ลูกน้อยดื่มน้ำส้มคั้น จะให้ดื่มได้ ต้องหลัง 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่สามารถให้อาหารเสริมได้ แต่ควรผสมน้ำส้มในน้ำ ในปริมาณครึ่งต่อครึ่ง การให้น้ำส้มที่มีรสชาติเข้มข้นโดยไม่ผสมอะไรเลยอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบดูดซึมของลูกได้ พอลูกโตขึ้นจึงค่อยๆ ลดปริมาณน้ำลง จนถึงอายุ 5 ขวบจึงสามารถให้น้ำส้มอย่างเดียวโดยไม่ต้องผสมน้ำ อนึ่ง เนื่องจากน้ำส้มมีรสหวานมาก การผสมน้ำ ยังเป็นข้อดีที่ช่วยให้ลูกน้อยไม่ติดหวานตั้งแต่เล็ก

ผู้ที่เป็นโรคไตและเบาหวาน หากต้องการจะทานส้ม ควรทานด้วยความระมัดระวัง เพราะส้มเป็นผลไม้ที่ให้โปแตสเซียมและน้ำตาลสูง ควรทานเป็นผลซึ่งมีกากใย จะดีกว่าดื่มน้ำส้มคั้น เพราะน้ำส้มคั้น 1 แก้วต้องใช้ส้มมาคั้นหลายผล ไม่มีกากใย และบางเจ้าจะเติมรสหวานเพิ่มเติม

ที่มา : http://www.bloggang.com โดยคุณ พรไม้หอม

จัดอาหารให้ผู้ใหญ่ แบบไหนดี ?


                 


เพราะผู้สูงวัยหรือผู้ใหญ่ในบ้าน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรที่ดูแลพวกเรามายาวนาน จน ณ ตอนนี้ สุขภาพของท่านอาจเสื่อมไปตามกาลเวลา ลูกหลานอย่างพวกเราจึงนิ่งนอนใจไม่ได้ มาเรียนรู้วิธีการดูแลเรื่องอาหารการกินให้สดอคล้องและเหมาะสมกับระบบร่างกายผู้ใหญ่ในบ้านกันดีกว่าค่ะ                      
รู้จักปัญหาสุขภาพผู้สูงวัย
- ปัญหาการย่อย เพราะร่างกายผู้สูงวัยถูกใช้งานมานาน ความสามารถในการดูดซึมอาหารของลำไส้จึงลดลง การบีบตัวของลำไส้น้อยลง ทำให้มักมีอาการปวดท้อง ท้องอืด และอาหารไม่ย่อยได้ง่าย
- ปัญหาการบดเคี้ยวอาหาร เนื่องจากฟันหัก ฟันโยก
- ปัญหาความดันโลหิต เช่น มีระดับความดันโลหิตสูง
- ปัญหาความอ้วน และเบาหวาน ทำให้ต้องควบคุมอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารไม่มีประโยชน์

9 วิธีจัดอาหารให้ผู้ใหญ่สุขภาพดี
            1. เลือกอาหารที่มีคุณค่าครบ 5 หมู่ โดยเน้นผักผลไม้ที่รับประทานได้ง่าย ไม่หวาน ไม่แข็ง และมีปริมาณอาหารที่ไม่มากเกินไป
            2. ควรจัดอาหารในแต่ละมื้อให้ผู้ใหญ่ในปริมาณน้อยกว่าปกติ แต่ให้กินบ่อยครั้ง เพื่อป้องกันอาการปวดท้องแน่นท้อง
            3. ไม่ควรให้ผู้ใหญ่กินผักสดมากจนเกินไป ซึ่งหากมีอาหารประเภทผักต่างๆ ควรปรุงด้วยวิธีต้ม หรือนึ่ง แทนการกินสด เพราะนอกจากจะเคี้ยวยาก อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และท้องอืดได้
            4. ควรจัดอาหารประเภทน้ำเป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยให้ผู้ใหญ่เคี้ยวอาหารได้ง่าย แถมยัง ช่วยหล่อลื่นหลอดอาหาร ให้กลืนได้สะดวกขึ้น
            5. เตรียมเมนูอาหารที่หลากหลาย ดึงดูดใจน่ารับประทานทั้งกลิ่น และสี เพราะผู้สูงอายุจะเบื่ออาหารได้ง่ายกว่าปกติ
            6. ควรมีผลไม้สดให้ผู้ใหญ่ได้ทานทุกวัน แต่ควรเป็นผลไม้ที่นิ่ม เคี้ยวง่าย เพื่อช่วยให้การย่อยและการขับถ่ายสะดวก
            7. ผู้พยายามงดอาหารว่างที่เป็นขนมหรืออาหารหวานจัด แต่หากท่านชอบก็อาจจัดให้ได้บ้างตามความเหมาะสมและควรเป็นขนมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ธัญพืชต้มน้ำตาลไม่หวาน เต้าส่วน หรือน้ำเต้าหู้ใส่เครื่องที่ไม่หวานได้
            8. จัดเวลาอาหารให้ผู้ใหญ่ทานได้อย่างไม่เร่งรีบ เพราะท่านอาจจะสำลัก และเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด จนมีผลให้ปวดท้องเพราะอาหารไม่ย่อยได้
            9. ช่วยควบคุมน้ำหนักให้ผู้ใหญ่ โดยดูเมนูอาหารในแต่ละมื้อไม่ให้มากเกินไป งดของหวาน น้ำตาล หรือแป้ง ให้ได้รับอย่างเหมาะสม เพราะหากน้ำหนักเพิ่มขึ้นจนอ้วน อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอันตราย เช่น เบาหวาน หัวใจ และไขมันอุดตันเส้นเลือดได้ รวมถึงหากผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน หรือความดันอยู่ การควบคุมอาหารและน้ำหนักจะช่วยรักษาระดับน้ำตาล และความดันให้เป็นปกติอีกด้วย  

ที่มา www.thehealthyclub.com


บำรุงสุขภาพผู้สูงวัยหลังป่วยด้วยอาหารเสริม


                 โดยปกติแล้วหลังจากคนเราป่วยไข้ ร่างกายก็ย่อมจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูตัวเองพอสมควรกว่าจะแข็งแรงดีเป็นปกติ แต่สำหรับผู้ใหญ่ด้วยความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย หากเจ็บป่วยเมื่อไร ร่างกายก็ย่อมฟื้นได้ยาก เราจึงมีมาแนะนำวิธีการบำรุงและฟื้นฟูร่างกายสำหรับผู้ใหญ่ให้แข็งแรงสุขภาพดีหลังป่วยไข้ได้รวดเร็วขึ้น

อาหารการกินเหมาะสม           เพียงการรับประทานอาหารที่ช่วยฟื้นฟูและบำรุงร่างกายให้เหมาะสม และไม่กระตุ้นอาการป่วยต่างๆ ให้กำเริบมากยิ่งขึ้น เช่น กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย สำหรับผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร กินอาหารที่ไม่รสจัด ไม่มัน และไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลน้อย รวมถึงเลือกอาหารที่เคี้ยวง่าย มีกากใยที่ช่วยในการขับถ่าย และได้รับอาหาร 5 หมู่อย่างครบถ้วน

พักผ่อนเพียงพอ           การพักผ่อนให้เพียงพอ คือการพักฟื้นที่สำคัญที่สุด ดังนั้นการนอนให้หลับสนิทเต็มที่ หรือนอนหลับกลางวันบ้าง จะช่วยให้อาการอ่อนเพลียหรือปวดเมื่อยต่างๆ ดีขึ้น

ทำจิตใจอารมณ์แจ่มใส           หลังป่วยร่างกายเราก็ไม่เต็ม 100 อยู่แล้ว ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตใจให้สดชื่นผ่อนคลาย ไม่ป่วยไปตามร่างกาย เพราะจิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว ไม่เครียดหรือยึดติดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด เมื่ออารมณ์ผ่อนคลาย ร่างกายก็จะสดใสขึ้นค่ะ

ใช้อาหารเสริมช่วย           ปัจจุบันมีอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ที่ไม่ใช่นม จึงปราศจากน้ำตาลแลคโตส ไม่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย มีใยอาหาร ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและทำให้ขับถ่ายง่าย พร้อมสารอาหารครบ 5 หมู่ วิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร ซึ่งจะช่วยเติมเต็มสารอาหารที่จำเป็นพอเพียง ให้ร่างกายที่ฟื้นจากอาการป่วยไข้และสุขภาพดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว 

ที่มา www.thehealthyclub.com

ชวนชะลออัลไซเมอร์ ! ด้วยอาหารเช้า

 

ใครไม่อยากสมองเสื่อม หรือหลงลืมอะไรได้ง่าย ห้ามขาดอาหารเช้า ไม่ว่าจะมื้อเล็ก มื้อใหญ่ หรือมื้อง่ายๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์ได้อย่างดี           สาเหตุที่อาหารเช้ามีส่วนช่วยลดการเกิดโรคอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อม เนื่องจากการที่เราไม่กินอาหารเช้า จะทำให้ร่างกายเราขาดอาหารยาวนานมากกว่า 12-15 ชั่วโมง เพราะระหว่างมื้อเย็นจนมาถึงมื้อเช้าของอีกวัน รวมเวลานอนหลับ ร่างกายจะไม่ได้รับสารอาหารยาวนานมาก ดังนั้นหากเราไม่กินอาหารเช้าผลที่ตามมาคือ ทำให้เราขาดน้ำตาลในเลือด หรือน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งน้ำตาลในเลือดนี้เอง ที่เป็นอาหารสำคัญต่อการทำงานของสมองของเราทุกคน เมื่อน้ำตาลไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง เซลล์สมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับความคิดความจำก็จะได้รับน้ำตาลไปบำรุงน้อยตามลงไปด้วย
  และนี่เองที่เป็นสาเหตุทำให้สมองขาดน้ำตาล ขาดความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพราะขนาดร่างกายเรายังต้องการน้ำตาลมาหล่อเลี้ยงให้เพียงพอ สมองก็ต้องการไม่ต่างกัน นอกจากนี้ การกินอาหารเช้ายังทำให้ร่างกายเราสร้างฮอร์โมน เซโรโทนินที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างสมองให้ทำงานรวดเร็ว ฉับไว คิดอะไรได้แล่นฉิว ไม่เฉื่อยชา หรือเรียกง่ายๆ ว่าช่วยให้สมองไว โดยข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

           แต่ไม่ใช่แค่นี้ค่ะ เพราะอีกสาเหตุที่ทำให้คนไม่กินอาหารเช้า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากกว่า นั่นเป็นเพราะว่า คนที่ขาดอาหารเช้า ทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ง่าย เมื่อเป็นโรคกระเพาะก็ทำให้ต้องกินยาประเภทที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม เช่น ยาเคลือบกระเพาะต่างๆ ทำให้เกิดการสะสมอลูมิเนียมในร่างกาย ซึ่งมีแนวโน้มก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ด้วย

           เพราะฉะนั้นอาหารเช้า คืออาหารมื้อสำคัญสุด ที่ไม่เพียงแต่ช่วยบำรุงร่งกายให้แข็งแรงสุขภาพดี เตรียมพร้อมต่อการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพแล้ว ยังมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของสมอง ป้องกันความจำเสื่อม


ที่มา www.thehealthyclub.com

9 วิธี ดูแลผู้สูงอายุสุขภาพดี


ใครมีผู้สูงอายุที่ต้องดูแล ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย จะรู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายยิ่งวิกฤตเศรษฐกิจปีนี้รุนแรงกว่าครั้งใด ๆ การป้องกันดูจะเป็นยาขนานเอกที่ได้ผลเกินคลาด วันนี้เรามีวิธีดูแสุขภาพผู้สูงอายุมาฝาก

            1. เลือกอาหาร โดยวัยนี้ร่างกายมีการใช้พลังงานน้อยลงจากกิจกรรมที่ลดลง จึงควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา และเพิ่มแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุมักขาด ได้แก่ แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีอยู่ในนมถั่วเหลือง ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ๆ ทอด ๆ จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด เค็มจัด และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน          
 2. ออกกำลังกาย หากไม่มีโรคประจำตัว แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสัก 30 นาทีต่อครั้ง ทำให้ได้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จะเกิดประโยชน์ต่อหัวใจและหลอดเลือดอย่างมาก โดยขั้นตอนการออกกำลังกายจะต้องค่อย ๆ เริ่ม มีการยืดเส้นยืดสายก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มความหนักขึ้น จนถึงระดับที่ต้องการ ทำอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาที่ต้องการ จากนั้นค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ และค่อย ๆ หยุดเพื่อให้ร่างกายและหัวใจได้ปรับตัว           
3. สัมผัสอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้ อาจเป็นสวนสาธารณะใกล้ ๆ สถานที่ท่องเที่ยว หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้           
4. หลีกเลี่ยงอบายมุข ได้แก่ บุหรี่และสุรา จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา และยังช่วยป้องกันปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรมต่าง ๆ อันเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในขณะนี้           
5. ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลและโรคที่เป็นอยู่ส่งเสริมสุขภาพให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ปรับสภาพแวดล้อมในบ้านให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือการหกล้ม           
6. ควบคุมน้ำหนักตัวหรือลดความอ้วน โดยควบคุมอาหารและออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว ลดปัญหาการหกล้ม และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น           
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเดิมที่เก็บไว้มาใช้รักษาอาการที่เกิดใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ เนื่องจากวัยนี้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตในการกำจัดยาลดลง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากยาหรือผลข้างเคียงอาจมีแนวโน้มรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาจะดีที่สุด           
8. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คลำได้ก้อน โดยเฉพาะก้อนโตเร็ว แผลเรื้อรัง มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนติด กลืนลำบาก ท้องอืดเรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไข้เรื้อรัง เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกหรือถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องเสียเรื้อรัง ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ้าอย่างนี้ละก็พามาพบแพทย์ดีที่สุด           
9. ตรวจสุขภาพประจำปี แนะนำให้ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง เช่น โรคเบาหวาน โรความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ตรวจหาโรคมะเร็งที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และยังมีตรวจการมองเห็น การได้ยิน ตลอดจนประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย          
 นอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้วสุขภาพใจก็เป็นสิ่งสำคัญ การทำจิตใจให้แจ่มใส มองโลกในแง่ดี ไม่เครียดหรือวิตกกังวลกับเรื่องต่าง ๆ มากจนเกินไป รวมถึงการเข้าใจและยอมรับตนเองของท่านและผู้อื่น จะช่วยให้เป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพดีอย่างแท้จริง

ที่มา : health.kapook.com